วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560

LNB

LNB

 Feed  Horn
            ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่ได้จากการสะท้อน จากจานรับสัญญาณดาวเทียม  เพื่อรวมสัญญาณป้อนให้กับตัว LNB  โดยส่งเข้าท่อ นำสัญญาณ หรือกระบอกนำสัญญาณที่เรียกว่าท่อ Waveguide 








      ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ ด้วยวงจร LNA  ( Low Noise Amplifier ) ขยายสัญญาณในช่วงความถี่สูง RF AMP เป็นการขยายแบบ การรบกวนต่ำ  เพื่อให้ได้สัญญาณจริงที่ส่งมาจากดาวเทียมและส่งต่อเข้าไปที่วงจรเปลี่ยนความถี่ให้ต่ำลง  ปรับสัญญาณเป็นแบบ สัญญาณ IF ส่งออกต่อไปที่ขั้ว OUTPUT ของตัว LNB เพื่อส่งเข้าเครื่องรับดาวเทียมต่อไป






อุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ 








        เมื่อสัญญาณที่รวมจากจานดาวเทียมแล้ว  จะถูกส่งต่อเข้าไปยังอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่มีการรบกวนของสัญญาณต่ำ  LNB ( Low Noise Block downconverter )  จะมีขั้วโลหะชิ้นเล็กๆ ความยาวประมาณ 1 นิ้ว อยู่ 2 ขั้วซึ่งในส่วนนี้จริงๆแล้วคือขั้วสายอากาศที่ทำหน้าที่รับสัญญาณจากดาวเทียม  ในแนวตั้ง 1 อันและแนวนอนอีก 1 อัน  เมื่อรับสัญญาณได้แล้วจะส่งต่อไปยังวงจรอิเล็คทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่มีการควบควบสัญญาณรบกวนให้ต่ำที่สุด    ถ้าเปรียบเทียบเมื่อสมัยก่อนจะต้องใช้จานขนาดใหญ่มากเพื่อให้เกิดความต่างของสัญญาณรบกวนและสัญญาณจริงที่รับจากดาวเทียม   ก่อนที่จะทำการขยายสัญญาณในวงจร  Low Noise Amplifier  เพื่อให้ได้สัญญาณจริงจากดาวเทียมให้มากที่สุด
           Noise Temperature ของ LNB จะบอกเป็นค่าองศาเควิน ( Degree Kelvins : K ) ซึ่งถ้าหากว่าค่า Noise Temperature ยิ่งมีค่าต่ำเท่าไร  สัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นใน LNB ก็จะน้อยลงไปด้วย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในย่าน 20-40 องศาเควิน ปัจจุบันเทคโนโลยี่ก็ทันสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ  ทำให้การผลิต ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
           LNB สำหรับระบบ Ku-Band   LNB ที่ใช้ในย่านความถี่ Ku-Band จะแสดงอัตราการเกิดของสัญญาณรบกวนอยู่ในรูปของ Noise Figure ซึ่งมีหน่วยเป็น dB แทนค่า Noise Temperature ซึ่งเป็นหน่วยวัดสัญญาณของ LNB สำหรับย่าน C-band 





ขั้วคลื่นแบบแนวตั้งและแนวนอน




       สัญญาณที่ส่งจากดาวเทียมจะมีการส่งขั้วคลื่นแบบแนวตั้ง Vertical และแนวนอน Horizontal     เพื่อทำให้การส่งสัญญาณที่มีความถี่เหมือนกัน  สามารถที่จะทำการส่งได้ในพร้อมกัน 2 แนว โดยไม่เกิดการรบกวนระหว่างกัน   เนื่องจากความถี่ที่มีใช้ในระบบการรับส่งสัญญาณดาวเทียมมีใช้อย่างอย่างจำกัด  เมื่อติดตั้ง LNB แบบนี้จำเป็นต้องหมุนขั้วคลื่นให้รับสัญญาณได้ตรงตามแนวการส่งด้วย  จึงจะทำให้รับสัญญาณได้ดีที่สุด  ปัจจุบัน LNB ในแบบรุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด


ขั้วคลื่นแบบวงกลม



      การส่งคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมเป็นแบบวงกลม หรือที่เรียกว่า  Circular Polarization ดังนั้นหากว่าเราต้องการรับสัญญาณที่ส่งแบบขั้วคลื่นแบบนี้ ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดแล้ว  เราจะต้องใช้ LNB ที่มีฟีดฮอนที่มีโครงสร้างของโพรบเป็นแบบ Circular  ด้วยเช่นกัน  โพรบจะมีลักษณะเป็นวงกลม ( Helical ) และมีลักษณะของรูปคลื่น ( Pattern ) หมุนเป็นเกลียว และยังแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ แบบที่มีคลื่นหมุนทางขวา ( Right Hand Circular Polarization ) และแบบคลื่นที่หมุนทางซ้าย ( Left Hand Circular Polarization ) ส่วนแบบลิเนีย ( Linear Polarization ) แบ่งออกเป็น  Horizontal Polarization และ  Vertical  Polarization  ถึงแม้ว่าฟีดฮอนแบบลิเนีย ซึ่งเป็นแบบมาตรฐานจะสามารถรับสัญญารได้ก็ตาม  แต่ตรึ่งหนึ่งของสัญญาณก็จะเกิดการสูญเสียไป  ฉนั้นหากต้องการสัญญาณที่มีความสมบูรณ์ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องด้วยจึงจะรับสัญญาณได้ดี



อุปกรณ์การปรับขั้วคลื่นของดาวเทียม




   LNB รุ่นเก่าจะมีขั้วการรับสัญญาณจากดาวเทียมเพียงขั้วเดียว  หากว่าต้องการรับสัญญาณจาก 2 ขั้ว  จะต้องมีระบบหมุนขั้วคลื่น  ซึ่งระบบหมุนขั้วคลื่นนี้จะมีชื่อเรียกว่า ระบบ เซอร์โวโพราไรท์  ปัจจุบันระบบนี้  เริ่มเลิกใช้แล้ว  เพราะการเปลี่ยนขั้วการรับจะทำได้ช้าเพราะต้องรอให้มอเตอร์หมุนไปหาตำเหน่งขั้วคลื่น      ปัจจุบัน LNB ได้ผลิตแบบมี 2 ขั้วคลื่นในตัวเดียวกันเลยและใช้ระบบการตัดต่อสัญญาณแบบอิเล็คทรอนิกส์ทำให้การตัดต่อสัญญาณทำได้เร็วโดยไม่ต้องรอ



การรับสัญญาณจาก 2 ขั้วคลื่นของ LNB
            แบบที่ 1    แบบปรับรับด้วยมอเตอร์  ระบบ เซอร์โวโพราไรท์  จะทำการหมุนปรับไปรับครั้งละ 1 ขั้วคลื่น
            แบบที่ 2   แบบปรับด้วยระบบอิเล็คทรอนิกส์ จะใช้ความต่างของไฟเป็นระบบตัดต่อ โดยให้ไฟที่ 13-14 Volt
                            เลือกไปที่   Vertical และ 17-18 Volt เลือกไปที่ Horizontal  แบบนี้จะเลือกขั้วได้เร็ว
           แบบที่ 3    แบบนี้จะใช้วิธีการบวกความถี่ที่อีก 1 ขั้วให้ต่างจากความถี่เดิม  ทำให้สัญญาณ 
                           วิ่งไปในสายพร้อมกัน 2 ขั้วคลื่นได้  แบบนี้เหมาะสำหรับจานดาวเทียมที่ใช้กับเครื่องรับหลายๆตัว
           แบบที่ 4   แบบแยกขั้วคลื่นอิสระ  โดยจะมีขั้วคลื่นออกมาทั้ง 2 ขั้วคลื่นเลย  เมื่อนำไปใช้ต้องใช้ระบบ
                           สวิทตัดต่อขั้วคลื่นแบบข้างนอกเพิ่มเหมาะสำหรับ จานดาวเทียมที่ต้องการใช้เครื่องรับหลายๆตัว
           แบบที่ 5    แบบที่มี 2ขั้วต่อ ออกมาจาก LNB โดยตรง แบบนี้เท่ากับว่ามีตัว LNB เหมือนแบบที่ 2 ถึง 2 ตัว
                           อยูในตัวเดียวกัน  เหมาะสำหรับใช้กับเครื่องรับตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป





ที่มา http://www.nics-sat.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=150811

การติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ระบบ KU-Band บนดาวเทียมไทยคม5

การติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม ระบบ KU-Band บนดาวเทียมไทยคม5 






 1. ต้องรู้ก่อนว่าต าแหน่งที่เราจะท าการติดตั้งจาน อยู่ ณ ต าแหน่ง Latitude (Lat.)และ Longitude (Long.) ที่เท่าไรเพื่อจะหาค่ามุมกวาด (Azimuth: AZ ) และมุมเงย (Elevation: EL) ในการติดตั้งจานเพื่อรับ สัญญาณจากดาวเทียมไทยคม5

2. เมื่อทราบสามารถหาต าแหน่ง Latitude และ Longitude แล้วสามารถหาค่าค่ามุมกวาด (AZ ) และมุมเงย (EL)ได้จาก Website: http://tcns.thaicom.net/AZEL.asp โดยใส่ค่า Lat. และ Long. และ เลือกดาวเทียม ไทยคม 5 แล้วกด Calculate

3. หากไม่ทราบต าแหน่ง Latitude และ Longitude ของสถานที่ติดตั้งจาน สามารถใช้ค่า Latitude และ Longitude ของจังหวัดที่ติดตั้งแทน ในWebsite: http://tcns.thaicom.net/AZEL.aspและและและ เลือก ดาวเทียมไทยคม 5 แล้วกด Calculate จะได้ค่ามุมกวาด (AZ ) และมุมเงย(EL)

การคำนวนเพื่อที่จะหามุม Azimuth (มุมกวาด) และมุม Elevation(มุมเงย)ไว้ใช้ในการ Point จาน สามารถใช้สูตรค านวน ดังนี้ สูตรการค านวนหามุม Azimuth (AZ) AZ = tan-1 θ = Latitude ของที่จะติดตั้งจาน Φ = Longitude (ดาวเทียม) – Longitude (ที่ติดตั้งจาน) สูตรการค านวนหามุม Elevation (EL) EL = tan-1 θ = Latitude ของที่จะติดตั้งจาน Φ = Longitude (ดาวเทียม) – Longitude (ที่ติดตั้งจาน) R = รัศมีโลก (มีค่าเท่ากับ 6,370 Km.) H = ระยะระหว่างดาวเทียมกับพื้นโลก (35,680 Km.)

4. ส ารวจทิศทางมุม(ที่ได้จากการค านวนจากข้อที่ 2 หรือ 3 ที่จะหันหน้าจานไปรับสัญญาณจากดาวเทียม






5. เมื่อได้ต าแหน่งติดตั้งจานที่ไม่มีสิ่งบดบังแล้ว ก็เริ่มท าการติดตั้งเสาโดยต้องติดตั้งให้ท ามุม90 องศา ทั้ง 4ด้าน หากไม่ได้90 องศา ให้ใช้แหวนรองน็อต รองใต้แป้นเหล็กเพื่อปรับองศาของผนังยึด 6. ติดตั้งจานเข้ากับเสาโดยหันหน้าจานไปทางทิศทางที่ได้ท าการค านวน (คือมุมกวาด (AZ ) และมุมเงย (EL)) ไว้ในข้อที่ 2 หรือ 3 ซึ่งการติดตั้งในประเทศไทยนั้นหากรับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม5 เรา สามารถปรับจานรับสัญญาณจากดาวเทียมให้มีมุมกวาด (AZ) ประมาณเท่ากับ 240 องศา และมี มุมเงย (EL) ประมาณ 60 องศาโดยประมาณใแล้วค่อยมาท าการปรับแต่งละเอียดอีกครั้งภายหลังเพื่อรับ สัญญาณได้แรงมากที่สุด

6. ประกอบตัว LNB เข้ากับแขนจับ LNB และหันหน้าเข้าหาจานแล้วบิดขั้วใส่สายสัญญาณของLNB ไป ที่ทิศทางประมาณ 4 -5 นาฬิกา 7. เข้าหัว F-Type กับสาย RG6 8. ท าการต่อสายสัญญาณและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเริ่มการปรับแต่งมุมจานให้ได้รับสัญญาณที่ดีสุด ซึ่งจะ อธิบายในหัวข้อ “วิธีการปรับจานดาวเทียมให้ได้สัญญาณที่แรงที่สุด




การติดตั้งจานดาวเทียม THAICOM 5 ระบบ C-Band




1.หน้าจานรับสัญญาณดาวเทียมท าหน้าที่สะท้อนสัญญาณไปยังจุดโฟกัส การรับสัญญาณจากดาวเทียม 
2.ที่จุดโฟกัสจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า LNB ท าหน้าที่รับสัญญาณที่สะท้อนจากจาน ดาวเทียมและเปลี่ยนความถี่ให้เป็ นย่านความถี่ต ่า (950 MHz – 2150 MHz) เพื่อ สามารถให้ส่งผ่านสายสัญญาณไปยังเครื่องรับได้ 
3.เครื่องรับสัญญาณ (Receiver) ท าหน้าที่แปลงสัญญาณดาวเทียมที่ได้เป็ นภาพและเสียง ไปยังจอภาพ (ทีวี)

การสำรวจพื้นที่ติดตั้งจานดาวเทียม 




การติดตั้งจานดาวเทียมเพื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคม 5 หน้าจานจะหันไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (ประมาณ 240 องศา) ดังนั้นก่อนการติดตั้งควรส ารวจพื้นที่ ที่ท าการติดตั้งก่อนว่ามีสิ่งกีดขวางทิศทางการรับสัญญาณหรือไม่

การติดตั้งจานดาวเทียม 

1.ประกอบชุดคอจานเข้าด้วยกัน











2.นำชุดคอจานกับใบจานประกอบเข้าด้วยกัน










3.น าชุดจานที่ได้สวมเข้าเสาตั้งจาน (โดยเสาตั้งจานควรได้ฉาก 90 องศา)





















4.ท าการประกอบชุดขาจับ LNB กับแผ่นสกาล่าริง เข้าด้วยกัน

5.นำชุดขาจับ LNB ประกอบเข้ากับใบจาน ( ประกอบเป็ นร ู ปกากบาท ×)


6.นำ LNB มาสวมโดยให้เลข 0 ชี้ลงด้านซ้ายมือ ประมาณ 7 นาฬิกา

7.ทำการปรับระดับความลึกของ LNB ประมาณ 38  

8.นำสายสัญญาณต่อเข้ากับ LNB 

9.ทำการเก็บสายและหมวกครอบ LNB 







การต่อใช้งานแบบต่าง ๆ

            การต่อพ่วงจุดรับชมมากกว่า 2 จุด









การต่อใช้งานมากกว่า 2 จุด เพื่อให้สามารถรับชมได้อย่างอิสระต้องใช้ LNB แบบ 2 ขั้วในการรับสัญญาณ จากนั้นน ามาต่อเข้า Multiswitch เพื่อแยกจุดรับชม (ในกรณีที่ใช้ Multiswitch ที่มี output มากกว่า 4 จุด แนะน าให้ใช้ Multiswitch แบบมีไฟเลี้ยง)




การต่อพ่วงจุดรับชมดาวเทียมหลายดวงแบบหลายจุดรับชม






การต่อพ่วงจุดรับชมดาวเทียมหลายดวงแบบหลายจุดรับชม ในการร่วมสัญญาณ สามารถใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Multiswicth cascade ในการใช้งานจะเหมือนการเอา Switch 22 KHz + DiSEqC รวมเข้าด้วยกัน


การทำงานอุปกรณ์Multiswitch 4 x 4 





Multiswitch เป็ นอุปกรณ์ที่ท าหน้าเลือกรับสัญญาณจากดาวเทียม 2 ดวงโดยการ ท างานของอุปกรณ์ชนิดนี้จะใช้สัญญาณ 22 KHz จากเครื่องรับสัญญาณเป็ นตัว สั่งงานว่าจะรับสัญญาณจาก Port ใช้งาน 22 KHz หรือ 0 Hz




ระบบเสียงตามสาย

ระบบเสียงตามสาย

          ระบบเสียงตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือ เครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อ ทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่ ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกระจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่ กล่าวมาในตอนต้น การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่าง อาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความ ต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง อาคารเกือบทุกประเภทมีความจำเป็นต้องมีระบบเสียงตามสายเพื่อกระจายเสียงสำหรับประกาศเรียก หรือกระจายเสียงภายในอาคารเพื่อสื่อสารกับผู้ใช้อาคาร มีอุปกรณ์หลายชนิดรวมอยู่ในแผงกระจายเสียง (Sound Distribution Frame) ในลักษณะของแร็ก (Rack) โดยอาจประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 3.1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-1) เป็นแหล่งกำเนิดสัญญาณ อาจประกอบด้วยเครื่องรับวิทยุ AM/FM เครื่องเล่น CD DVD เครื่องเล่นเทป (ปัจจุบันไม่นิยมใช้) แบบแยกชิ้น หรือแบบรวมอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นเข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว (Integrated) ใช้เป็นเสียงเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในอาคาร




รูปที่ 1 เครื่องเสียง แหล่งกำเนิดสัญญาณ 

       อุปกรณ์ประกาศเรียก (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-4) อุปกรณ์ประกาศเรียก เป็นไมโครโฟนสำหรับโอเปอร์เรเตอร์ใช้ในการประกาศ หรือส่งข่าวสาร ซึ่งมีทั้งชนิดที่มีเสียงกริ่งอิเล็กโทรนิกส์ หรือมีสวิตซ์เลือกโซนประกาศรวมอยู่ด้วย





รูปที่ 2 อุปกรณ์ประกาศเรียก

      มิกซ์เซอร์  (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณจากแหล่งกำเนิดเสียงหลายแหล่ง เช่น เครื่องเสียงแบบแยกชิ้น อุปกรณ์ประกาศเรียกเข้าด้วยกันโดยสามารถปรับระดับสัญญาณของแต่ละช่องได้อย่างอิสระ 





รูปที่ 3 มิกซ์เซอร์




        เครื่องขยายเสียง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-3) เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณจากมิกซ์เซอร์ เพื่อส่งเข้าระบบกระจายเสียงโดยตรง หรือผ่าน อุปกรณ์เลือกโซน โดยเอาต์พุตของเครื่องขายเสียงจะเป็นลักษณะของแรงดัน (Line Voltage) เนื่องจากโหลด ของเครื่องขยายเสียงในระบบประกอบด้วยลำโพงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจำนวนลำโพงที่ต่ออยู่กับระบบ อาจเพิ่ม หรือลดได้โดยการใช้อุปกรณ์เลือกโซน การจ่ายเอาต์พุตเป็นแรงดันจึงมีความเหมาะสมกับโหลดลักษณะนี้




รูปที่ 4 เครื่องขยายเสียง


        อุปกรณ์เลือกโซน (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-6) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลือกบริเวณหรือโซนที่ต้องการกระจายเสียง เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวน บริเวณอื่นๆ การเลือกโซนกระจายเสียงสามารถเลือกได้ตั้งแต่หนึ่งโซนหรือทุกโซน โดยรูปแบบ (Pattern) ของ โซนต่างๆนั้นถูกกำหนดไว้ในขั้นตอนออกแบบ




รูปที่ 5 อุปกรณ์เลือกโซน

        โวลลุ่มคอนโทรล (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-17) โวลลุ่มคอนโทรล เป็นอุปกรณ์ปรับระดับความดังของเสียง ติดตั้งอยู่ในบริเวณต่างๆ ที่ ต้องการกระจายเสียง เพื่อปรับความดังของลำโพงในบริเวณนั้นๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม




รูปที่ 6 โวลลุ่มคอนโทรล

        สายสัญญาณ (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : มอก.11 มอก.1100) ที่ใช้ในระบบเสียงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือภายในแผงกระจายเสียง อาจใช้เป็นสายเคเบิลแกนร่วม เชื่อมต่ออินพุตกับเอาต์พุตของอุปกรณ์ สำหรับในระบบกระจายเสียงอาจใช้เป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนแบบสาย อ่อน (VCT) หรือสายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



รูปที่ 7 สายอ่อน (VCT)



รูปที่ 8 สายทองแดงหุ้มฉนวน (THW)



  ลำโพง (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง : IEC 60268-5) ลำโพงในระบบเสียงมีความแตกต่างจากลำโพงของเครื่องเสียงบ้าน โดยลำโพงของระบบเสียง จะมี Matching Transformer ติดตั้งมาด้วยเพื่อแปลงเอาต์พุตของเครื่องขยายเสียงให้เหมาะสมกับอิมพีแดนซ์ ของลำโพง ชนิดของลำโพงแบ่งออกเป็นหลายชนิดตามลักษณะการติดตั้ง เช่น ลำโพงแบบฝังฝ้าเพดาน (Recess Ceiling Speaker) และลำโพงฮอร์น (Horn Speaker) เป็นต้น




รูปที่ 9 ลำโพง

ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ

ระบบเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงตามสายสาธารณะ 

(Public address System)


ระบบการกระจายเสียงไปตามสาย คือการส่งสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต้นทาง อาจจะเป็นไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นเสียง CD/VCD/DVDMP3 หรือจากเครื่องรับวิทยุ หรือแหล่งอื่นๆ แล้วส่งไปที่เครื่องขยายเสียงเพื่อทำการขยายให้ได้กำลังสูงๆ เพื่อจะได้ส่งไปตามสายในระยะทางที่ไกลๆ โดย ที่ปลายทางจะมีลำโพงต่ออยู่
ระบบเสียงตามสาย อาจถูกเรียกได้หลายแบบเช่น ระบบเสียงตามสาย เสียงตามสาย ระบบประกาศ ระบบกรจายเสียงตามสาย ระบบกระจายเสียงสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีความหมายในทางเดียวกัน  อาจจะมีวัตถุประสงค์และรูบแบบการใช้งานที่แตกต่างกันบ้าง ไม่สำคัญ แต่พื้นฐานหลักการจะมีองค์ประกอบเหมือนที่เขียนมาในตอนต้น
การใช้งานระบบเสียงตามสายนิยมใช้ในระยะที่ไม่ไกลมาก โดยปกติจะใช้ภายในอาคาร ระหว่างอาคาร หรือในพื้นที่หน่วยงาน โดยเฉลี่ยจะไม่เกิน 2 กิโลเมตรเนื่องจาก ยิ่งระยะทางไกลจะทำให้เกิดความต้านทานในสาย และทำให้สัญญาณเสียงลดคุณภาหรือดังค่อยลง
ข้อดีของระบบเสียงตามสายแบบนี้คือ ง่าย สะดวกในการติดตั้งและดูแล คุณภาพเสียงระดับประกาศใช้ได้ แต่ไม่นิยมใช้กับระยะทางไกลถึงแม้สามารถส่งได้หลายกิโลก็ตาม ดังนั้นการเลือกใช้งานจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนออกแบบและติดตั้ง เพราะถ้าติดตั้งไปแล้วอาจเจอปัญหาหลายๆอย่างได้

ตัวอย่างการออกแบบ (งบประมาณเริ่มต้น 50,000. ขึ้นไป ไม่เกิน 150,000.-)
ตัวอย่างระบบกระจายเสียงสำหรับ ชุมชน/ หมู่บ้าน/ หน่วยงาน/ โรงงาน ที่ต้องการติดตั้งระบบเสียงตามสายจำนวนจุดลำโพงไม่เกิน 15 ตัวและระยะสายไม่เกิน 2 กิโลเมตร อุปกรณ์ประกอบติดตั้งพร้อมใช้งาน








ลำดับรายการจำนวนราคาต่อหน่วยราคารวม
ระบบกระจายเสียงตามสายสำหรับ ชุมชน/หมู่บ้าน/โรงงาน) พร้อมติดตั้ง( ลำโพง Horn ไม่เกิน 15 ตัว) ประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้
1เครื่องขยายเสียงขนาดกำลังขับไม่น้อยกว่า 300 วัตต์(ขึ้นอยู่กับจำนวนลำโพงที่ใช้)1
2เครื่องตั้งเวลาเปิด/ปิดอัตโนมัติ สำหรับเปิดข่าว หรือเปิดเพลงเคารพธงชาติเช้า-เย็น หรือตั้งเวลาเข้างาน/เลิกงาน(อุปกรณ์เสริมไม่จำเป็นต้องใช้)1
3เครื่องรับสัญญาณวิทยุดิจิตอล AM/FM(อุปกรณ์เสริมไม่จำเป็นต้องใช้)1
4เครื่องเล่น DVD/CD/MP3(อุปกรณ์เสริมไม่จำเป็นต้องใช้)1
5ไมโครโฟนพร้อมขาตั้งโต๊ะ1
6ชุดลำโพงมอนิเตอร์ขนาดเล็ก หรือหูฟัง(อุปกรณ์เสริมไม่จำเป็นต้องใช้)1
7ลําโพงฮอร์นปากกลมขนาด 12-15 นิ้วกำลังขับไม่น้อยกว่า 15-60W15
8ชุดควบคุมระดับเสียงและป้องกันลำโพงขาด(อุปกรณ์เสริมไม่จำเป็นต้องใช้)15
9สายนำสัญญาณเสียงขนาด 2 X 0.9 Sq mm.(ไม่เกิน 2กิโลเมตร)2000
10อุปกรณ์ประกอบร่วมอื่นๆสำหรับใช้ในการติดตั้ง1
รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด
หมายเหตุ; ราคาที่แสดงเป็นเพียงตัวอย่างสำหรับแนวทางในการกำหนด หรือทราบงบประมาณในเบื้องต้นเท่านั้น ปกติโครงการเสียงตามสายสำหรับชุมชน หมู่บ้านจะอยู่ประมาณตั้งแต่ 50,000 – 200,000 ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับระยะทางและจำนวนลำโพงเป็นหลัก
ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ และรายละเอียดของงาน (เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ กรุณาเตรียมข้อมูลเบื้องต้นเช่น จำนวนลำโพง จุดที่จะติดตั้งลำโพง พื้นที่ ระยะ งบประมาณ เป็นต้น เพื่อง่ายในการ ออกแบบ คำนวณ ขนาดของเครื่องขยายเสียง และราคา )